วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

คำนมัสการคุณานุคุณ
 คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อ่านเพิ่มเติม
นมัสการอาจริยคุณ
อนึ่งข้าคำนับน้อม               ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                        อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ                   ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                            ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา                          และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์        ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม-                     หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์                            ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ                            ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                          จิตน้อมนิยมชม 

นมัสการมาตาปิตุคุณ 
ข้าขอนบชนกคุณ                    ชนนีเป็นเค้ามูล ผู้กอบนุกูลพูน                              ผดุงจวบเจริญวัย ฟูมฟักทะนุถนอม                      บ บำราศนิราไกล แสนยากเท่าไรไร                          บ คิดยากลำบากกาย ตรากทนระคนทุกข์                    ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย ปกป้องซึ่งอันตราย                         จนได้รอดเป็นกายา เปรียบหนักชนกคุณ                   ชนนีคือภูผา ใหญ่พื้นพสุนธรา                             ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน เหลือที่จะแทนทด                     จะสนองคุณานันต์ แท้บูชไนยอัน                               อุดมเลิศประเสริฐคุณอ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทนมัสการมาตา
ประวัติผู้แต่ง นิราศนรินทร์
ประวัติของนายนรินทร์นั้น ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน
แต่เดิมทีนายนรินทร์มีชื่อว่า "นายทองอินทร์" (อิน)
ซึ่งได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก ฝ่ายพระัราชวังบวร (วังหน้า)
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร หรือว่า เป็นที่รู้จักกันในนามบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ นั้นคือ
"
นายนรินทรธิเบศร์" (อิน) นายนรินทร์เป็นโอรสกรมขุนอินทรพิทักษ์์ (พระราชโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี) กับ หม่อมเจ้าหญิงโสภา (ธิดากรมหมื่นสุนทรเทพ) เมื่อ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติผู้แต่ง นิราศนรินทร์
ประวัติผู้แต่ง นิทานเวตาล
  กรมหมื่นพิทยาลงกรณเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรฯ  บวรวิไชยชาญกับจอมมารดาเลี่ยม  (เล็ก)  มีเจ้าพี่ร่วมจอมารดาเดียวกันพระองค์หนึ่ง  คือ  พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชะดาซึ่งมีพระชันษาแก่กว่า    ปี
                กรมพระราชวังบวรฯ  พวรวิไชยาญ  เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่ง อ่านเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติผู้แต่ง อิเหนา
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๒)
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) ทรงพระราชสมภพ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถไปในกองทัพตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรและกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามลำดับ ทครงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจฟื้นฟูบูรณะประเทศสืบต่อจากพระบรมชนก มีพระอัจฉริยะพิเศษ ทางศิลปะ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี อ่านเพิ่มเติม 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติผู้แต่ง อิเหนา
โคลง4สุภาพ
เป็นโคลงชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด ด้วยเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโทอันเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์[ต้องการอ้างอิง]
โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรก[1] และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โคลง4สุภาพ
นิราศนรินทร์
  นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิราศนริน
นิทานเวตาล
เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่นิทานย่อยต่างๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม 25 เรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ "พันหนึ่งราตรี" ซึ่งเป็นนิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง อ่านพิ่มเติม

Vetala's Stories cover.png
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้)อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง